เมนู

ภายหลังสมัยต่อมา ในสมัยที่พระมหาบุรุษทรงละการอยู่เป็นหมู่แล้ว
เสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ ภิกษุที่บวชกับพระติสสศาสดาจำนวนโกฏิหนึ่ง
ก็แยกไปเสียที่อื่นแล้ว ครั้นภิกษุโกฏิหนึ่งนั้น ทราบข่าวว่า พระติสสสัมมาสัม-
พุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร ก็พากันมาที่ยสวดีมิคทายวัน ถวายบังคม
พระทศพลแล้ว ก็นั่งล้อมพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ต่อมาอีก
ในมหามงคลสมาคม ในเมื่อจบมงคล อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์หกสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ 2 การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่สัตว์
เก้าสิบโกฏิ อภิสมัยครั้งที่ 3 การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่
สัตว์หกสิบโกฏิ ในครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า ทรง
เปลื้องสัตว์คือมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจากเครื่องผูก.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุติโย นวุติโกฏินํ ความว่า อภิสมัย
ครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. บทว่า พนฺธนาโต ก็คือ พนฺธนโต
แปลว่า จากเครื่องผูก ความว่า ทรงเปลื้องจากสังโยชน์ 10. บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงถึงสัตว์ที่ทรงเปลื้อง โดยสรุป จึงตรัสว่า นรมรู. บทว่า นรมรู
ก็คือ นรามเร ได้แก่ มนุษย์และเทวดา.
ได้ยินว่า พระติสสพุทธเจ้าอันพระอรหันต์ที่บวชภายในพรรษา ใน
ยสวดีนครแวดล้อมแล้ว ทรงปวารณาพรรษาแล้ว นั้น เป็น สันนิบาตครั้ง
ที่ 1.
เมื่อพระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง นาริวาหนนคร นาริ-
วาหนกุมาร
โอรสของ พระเจ้าสุชาตะ ผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วย

บริวาร เสด็จออกไปรับเสด็จ นิมนต์พระทศพลพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ถวาย
อสทิสทาน 7 วัน จึงมอบราชสมบัติของพระองค์แก่พระโอรส พร้อมด้วย
บริวารก็ทรงผนวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระติสสสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งปวง. นัยว่า การบรรพชาของพระองค์ปรากฏโด่งดัง
ไปทุกทิศ. เพราะฉะนั้น มหาชนมาจากทิศนั้น ๆ บวชตามเสด็จพระนาริวาหน-
กุมาร ครั้งนั้น พระตถาคตเสด็จไปท่ามกลางภิกษุเก้าล้าน ทรงยกปาติ-
โมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ 2. ต่อมาอีก ชนแปดล้าน
ฟังธรรมกถาเรื่องพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติ กรุงเขมวดี ก็พากันบวชใน
สำนักของพระองค์แล้วบรรลุพระอรหัต. พระสุคตเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม
แล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ 3 ครั้ง.
การประชุมพระสาวกขีณาสพแสนหนึ่ง เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 1 ประชุมพระสาวกขีณาสพเก้าล้าน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2.
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้บาน
แล้วด้วยวิมุตติแปดล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า สุชาตะ
กรุงยสวดี ทรงสละราชอาณาจักรที่มั่นคงรุ่งเรือง กองทรัพย์หลายโกฏิ และคน
ใกล้ชิดที่มีใจจงรักภักดี สังเวชใจในทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น จึงออกผนวชเป็น

ดาบส มีฤทธานุภาพมาก สดับข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็มี
พระวรกายอันปีติ 5 อย่างถูกต้องแล้ว มีความยำเกรง ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าติสสะถวายบังคมแล้วดำริว่า จำเราจักบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้
ทิพย์ มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ เป็นต้น ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว ก็
ไปโลกสวรรค์ด้วยฤทธิ์ เข้าไปยังสวนจิตรลดา บรรจุผอบ ที่สำเร็จด้วยรัตนะ
ขนาดคาวุตหนึ่ง ให้เต็มด้วยดอกไม้ทิพย์มีดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะและดอก
มณฑารพ เป็นต้น พามาทางท้องนภากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอก
ไม้ทิพย์ที่มีกลิ่นหอม และกั้นดอกปทุมต่างฉัตรคันหนึ่ง ซึ่งมีด้ามเป็นมณี มี
เกสรเป็นทอง มีใบเป็นแก้วทับทิม เหมือนฉัตรที่สำเร็จด้วยเกสรหอม ไว้เหนือ
พระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ท่ามกลางบริษัท 4. ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่าเก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ จักเป็น
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า สุชาตะ สละ
โภคสมบัติยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤษี.
เมื่อเราบวชแล้ว พระผู้นำโลกก็อุบัติเพราะสดับ
เสียงว่าพุทโธ เราก็เกิดปีติ.
เราใช้มือทั้งสองประคองดอกไม้ทิพย์ คือดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ สะบัดผ้า
คากรองเข้าไปเฝ้า.
เราถือดอกไม้นั้น กั้นพระติสสชินพุทธเจ้า ผู้
นำเลิศแห่งโลก อันบริษัท 4 แวดล้อมแล้วไว้เหนือ
พระเศียร.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
ชน ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงทำความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยิ ปพฺพชิเต ได้แก่ เมื่อเราเข้าถึง
ความเป็นนักบวช. อาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ในคัมภีร์ว่า มม ปพฺพชิตํ
สนฺตํ ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเขียนพลั้งเผลอ. บทว่า อุปปชฺชถ ก็คือ
อุปฺปชฺชิตฺถ อุบัติขึ้นแล้ว. บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ก็คือ อุโภหิ
หตฺเถหิ. บทว่า ปคฺคยฺห แปลว่า ถือแล้ว. บทว่า ธุนมาโน ได้แก่
สะบัดผ้าเปลือกไม้. บทว่า จาตุวณฺณปริวุตํ แปลว่า อันบริษัท 4
แวดล้อมแล้ว อธิบายว่า อันบริษัทคือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีและสมณะ
แวดล้อมแล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า จตุวณฺเณหิ ปริวุตํ อันวรรณะ 4
แวดล้อมแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ เขมะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าชนสันธะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปทุมา คู่พระ
อัครสาวกชื่อว่า พระพรหมเทวะ และ พระอุทยะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระสมังคะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระผุสสา และ พระสุทัตตา โพธิ-